วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

concept and idea


ของทุกสรรพสิ่งนั้นเกิดขึ้นด้วยความคิดของคนเราโดยเริ่มต้นจากความต้องการขั้นพื้นฐานที่ใช้ดำรงชีวิต จึงเกิดสิ่งต่างๆมากมายเพื่ออำนวยความสะดวก ความคิดริเริ่มกับกระบวนการคิดเข้ามามีส่วนในการประดิษฐ์สิ่งของเหล่านั้น

ผมเริ่มสนใจสิ่งของเล็กๆในกระเป๋ามีทั้ง ดินสอ ปากกา ยางลบ ฯลฯ แต่กลับมีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทั่วไปต้องมีไว้ยังชีพคือ “ ไฟ “แต่อาจจะไม่ได้ใช้โดยตรงกับทุกๆคน “ ไฟ ” ในที่นี้ เป็น “ ไฟแช๊ก ” ที่เป็นนวัตกรรมเล็กๆ ที่มีความเป็นมาอันยาวนาน มันเริ่มจากปฎิกริยาทางธรรมชาติซึ่งในสมัยก่อนเราไม่สามารถควบคุมการเกิดของมันได้ วิวัฒนาการทำให้เรารู้วิธีควบคุมและใช้มันเพื่อให้แสงสว่าง ปรุงอาหาร จนไปถึง ป้องกันตัวเองจากสัตว์ร้าย โดยเริ่มจากการที่เราสังเกตุเมื่อนำหินมากระทบกันแล้วมีประกายไฟ ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม ( idea ) ที่จะทำไฟใช้เอง คนจึงคิดวิธีการทำไฟขึ้นจากนั้นเป็นต้นมา ด้วยเวลาและวิวัฒนาการ ทำให้เกิดกระบวนการ-คิดค้นและประดิษฐ์ต่างๆ( concept )
มาจนถึงยุคที่มีความคิดทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดกระบรวนการทางเคมีขึ้น จึงเกิดเป็น “ไม้ขีดไฟ ” มันเป็นสิ่งที่เกิดจากการนำสารเคมีมาใช้เพื่อง่ายต่อกระบรวนการจุดไฟโดยนักเคมีชาวอังกฤษ ชื่อ จอห์น วอคเกอร์ เค้าได้นำไม้ไปจุ่มสารและทากาวเคลือบ เมื่อนำไม้ไปกระทบลงพื้นที่มีความผิวหยาบ ก็จะลุกเป็นไฟ กระบรวนการนี้เกิดจากการเสียดสีจากของ 2 สิ่งเช่นเดียวกันในอดีตแต่มีวิวัฒนาการมากขึ้น

แต่ !!! มนุษย์ยังมีความต้องการประสิทธิภาพต่อการจุดไฟ การเก็บรักษา และพกพาที่สะดวกมากขึ้นจึงเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถจุดไฟโดยมีจุดประสงค์ดังกล่าวจึงเกิดนววัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า “ ไฟแช็ก “มันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ ไฟแช็กในยุคแรกๆสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือส่วนเก็บเชื้อเพลิงตัวนำเชื้อเพลิง กับส่วนจุดชนวน โดยใช้ไส้เป็นตัวนำเชื้อเพลิงมาจากส่วนเก็บเชื้อเพลิงและเกิดเป็นประกายไฟที่ส่วนจุดชนวนนั้นเอง โดยเริ่มต้นในรูปทรงที่คิดมาจากการใช้งานโดยตรง จากนั้นก็เริ่มเกิดรูปทรงที่ง่ายต่อการใช้งานในรูปแบบต่างๆ โดยใช้วัสดุที่หาได้ในสมัยนั้นมาเก็บรักษาเชื้อเพลิงโดยเริ่มจาก ทองเหลือง เหล็ก ฯ


หลังจากในเรื่องรูปทรงและการใช้งานแล้ว ยังมีความคิดเล็กๆ ที่ต่อเติมขึ้นมาทั้งวิธีการใช้และรูปลักษณ์ ทำให้เกิดความคิดที่จะทำไฟแช็กให้อยู่ในชิ้นเดียว ทำให้เกิดไฟแช็กที่มีเองรูปลักษณ์ยี้ห้อ “ ซิปโป้ ” เขาคิดค้น ดัดแปลงและแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้ไฟแช็กสมบรูณ์แบบ คือ ออกแบบให้เหมาะสมกับมือ ใส่บานพับเพื่อทำให้เป็นชิ้นเดียวกัน สามารถเปิด –ปิดได้ด้วยมือข้างเดียว และทำที่แผ่นโลหะที่เป็นรูเพื่อป้องกันลมนั้นเป็นสิ่งที่พัฒนามาจากกระบรวนการทางคิดที่มีระบบ จากนั้นไฟแช็กได้พัฒนามาถึงจุดอิ่มตัวโดยเริ่มใช้วัสดุที่มีราคาถูกตามสภาพแวดล้อม วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีบวกกับพฤติกรรมมนุษย์ในปัจจุบันนี้ที่ชอบความสะดวกสบายจนเป็น “ ไฟแช็กพลาสติก ” ที่เราใช้กันทุกวันนี้เนื่องด้วยจากการที่จะผลิตที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำกับการค้นพบวัสดุใหม่ที่เกิดจากวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์จึงเกิดรูปลักษณ์ที่เป็นมาตราฐานแต่อาจจะมีการเปลี่ยนลวดและสีเท่านั้น มันเป็นกระบรวนการคิดและออกแบบที่ดีที่สุดสำหรับสิ่งที่ทำให้เกิด เปลวไฟ ในตอนนี้แต่ในอนาคตเราอาจจะพบสิ่งใหม่ที่ให้กำเนิด “ไฟ ” ได้ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าก็ได้ หรือมันอาจจะเป็นมากกว่าการที่จะให้เกิดเชื้อเพลิงที่เรียกว่า “ไฟ ” …. อาจจะเป็น “ เลเซอร์ “ ที่อยู่ในหนังเรื่อง สตาร์ วอลล์ !!!

รูปลักษณ์นิโคติน

บุหรี่ คือรูปลักษณ์ของนิโครติน รูปลักษณ์นั้นเราเรียนรู้ได้จากสื่อ ประสบการณ์ และ สภาพแวดล้อม
สื่อทำให้มันดูเป็นรูปลักษณ์ของผู้ใหญ่ ประสบการณ์กับสภาพแลดล้อมบอกเราว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงดังนั้นบุหรี่เป็นสื่อของวัยทำงานหรือผู้ใหญ่ที่มีความคิดเป็นของตนเอง โดยตัดสินจากภาวะวิสัย มันจึงเป็นโจทย์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่ที่ให้ผู้สูบดูมีระดับของความเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีระดับแตกต่างกันไปตามบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่ ดังนั้นการมีรูปภาพเตือนขึ้นมามันพยายามบ่งบอกถึงความคิดต่อรูปลักษณ์นั้นเป็นสิ่งที่ผิดมันเป็นแค่รูปลักษณ์ของนิโคตินที่ทำให้ผู้ที่สูบดูเป็นผู้ใหญ่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่นั้นเป็นการรณรงค์ ทำให้เห็นโทษที่เกิดขึ้นและช่วยให้หยุดสูบหรือคิดที่จะหยุดมันผลที่ได้เป็นจริงในระยะต้นเท่านั้น

ผมคิดว่ารูปภาพที่สื่อเป็นสิ่งที่ทำให้รับรู้ได้แต่ไม่ได้ยับยั้งการสูบ จริงๆแล้วมันเป็นแค่ภาพเตือนที่ทำให้เห็น เหมือนป้ายจราจรบนท้องถนนทั่วไปเท่านั้น มันเป็นภาพเตือนที่ทำให้เห็นถึงความโหดร้ายของภาวะหนึ่ง ผมคิดว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่นั้นไม่ควรปรากฎสิ่งต่างๆที่สามารถแสดงให้จดจำได้ถึงยี่ห้อ ประเภท หรือแม้ภาพเตือนที่ทำให้เราจดจำมันได้ มันควรเป็นแค่ซองใสที่เห็นชัดว่าเป็นบุหรี่โดยไม่มีการบ่งบอกยี่ห้อด้วยเพราะจะทำให้ไม่เกิดภาพลักษณ์และการจดจำของบริษัทผู้ผลิตที่สามารถบ่งบอกรสนิยมในการสูบได้ และมันจะทำให้ผู้คนรับรู้ว่าบุหรี่เป็นสิ่งที่อันตรายเท่านั้นไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม บุหรี่จะเป็นแค่เพียงสิ่งที่ทุกคนได้เรียนรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่อันตรายต่อสุภาพและคนรอบข้าง ดังนั้นเราจึงไม่ควรให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์มัน โดยละมันไว้เป็นแค่เพียงรูปลักษณ์ของสารนิโครติน