วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ออกแบบอักขรศิลป์ " ทรงพระเจริญ "






นี้เป็นหนึ่งผลงานที่ได้ส่งเข้าร่วมโครงการออกแบบอักขรศิลป์ “ ทรงพระเจริญ “ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ก็คิดไว้ว่าเราจะออกแบบอย่างไงดีที่จะบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษร 10 ตัวนี้ได้
ก็แนวความคิดมาจากว่าพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดูแลเป็นห่วงประชาชนและผืนดินไทยเป็นอย่างดียิ่งและพระองค์ทรงได้เห็นพลังประชาชนที่เข้ามาร่วมถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มาแล้ว ในครั้งนี้เป็นงานเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ณ.โอกาสนี้ผมจึงคิดว่าผืนแผ่นดินคงอยากกล่าวคำสรรเสริญต่อพระองค์บ้างที่ทรงดูแลแผ่นดินนี้เป็นอย่างดี แต่แผ่นดินหรือพื้นดินไม่อาจจะสื่อสารด้วยการออกเสียงกล่าวคำสรรเสริญเช่นมนุษย์ได้ ผมจึงเป็นสื่อกลางบอกกล่าวแทนด้วยการออกแบบอัขรศิลป์ ที่งอกเงยมาจากพื้นดินเพื่อมาบอกกล่าวถ้อยคำ สรรเสริญ ต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่ของเรา

ขั้นตอนการทำงาน




วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

“ พระพุทธเจ้าทำไมไม่เขียน "


ในชั้นเรียนของอาทิตย์ที่ผ่านนี้ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่อง
“ พระพุทธเจ้ากับโซรเคติสที่ว่าทำไม 2 คนนี้รู้เรื่องต่างๆมากมายแต่ทำไมไม่เขียน? “
ตอนนี้ผมพอจะเข้าใจในบางอย่างแล้วแต่เป็นในทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากได้อ่านบทความตอนหนึ่งในหนังสือ “ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” ของนาย ทันตแพทย์ สม สุจีรา ได้เขียนข้อความไว้ว่า “ สิ่งที่องค์พระพุทธเจ้ารู้ในเรื่องต่างๆนั้น เปรียบดัง ใบไม้ทั้งป่าแต่สิ่งที่พระองค์สนใจหรือพบทางหลุดพ้นนั้นเปรียบดังใบไม้เพียง 2 - 3 ใบในกำมือเท่านั้น นอกนั้นแล้วล้วนแต่เป็นเรื่องที่มีกิเลส ไม่ใช่ทางหลุดพ้นหรือดับทุกข์ดังนั้นพระองค์จึงไม่สนใจที่จะเขียน และ ไม่ต้องการถ่ายทอด แล้วสิ่งที่พระองค์สนใจนั้นไม่อาจรู้แจ้งได้ด้วยวิธีทางการ เขียน ฟัง หรือ วาจา ก็ตามแต่กลับต้องปฎิบัติเท่านั้นจึงจะเข้าถึงได้แล้วจะต้องมีการพัฒนาญาณปัญญาไปด้วย และเรื่องนี้ก็ไปตรงกับบทความที่ ไอน์สไตน์เคยตั้งคำถามไว้ในหนังสือ “ Idea & Opinions “ เค้าเขียนด้วยความสงสัยว่า
“ การถ่ายทอดสื่อความหมาย ความเข้าใจในศาสนาพุทธ จากบุคคลหนึ่งถึงบุคคลหนึ่งนั้นทำได้อย่างไร ในการจะให้เข้าถึงเรื่องยากๆขนาดนั้นได้ คล้ายกับที่เค้า ( ไอน์ไสตน์ ) กำลังประสบปัญหาเดียวเช่นกันคือจะอธิบายทฤษฎีต่างๆที่ยากจะเข้าใจได้ด้วยการอธิบายความคิดทางถ้อยคำได้อย่างไร เพราะถ้อยคำไม่สามารถรองรับการเล่าเรื่องทางทฤษฎีนั้นได้อย่างเพียงพอ"
ดังนั้นเรื่องที่เรากำลังสงสัยคงอาจจะเป็นแค่ข้อกำจัดทางภาษาที่ใช้สื่อสารจริงๆก็ได้ หรือนี้อาจจะเป็นการคลายข้อสงสัยในชั้นต้นๆของปัญหาเท่านั้นไม่ใช่ข้อสรุป แต่สิ่งที่เราพอจะได้ประโยชน์จากข้อสงสัยนี้คือเราควรลงมือปฎิบัติหรือศึกษาในสิ่งเล็กน้อยนี้ต่อไปเพื่อหาคำตอบของจักรวาลและตัวเราเอง ไม่ว่าเรื่องนั้นเราทำแล้วจะถ่ายทอดได้ก็ดีหรือถ่ายทอดไม่ได้ก็ดี แต่หน้าที่ของเราคือการหาทางออกจนกว่าที่จะสื่อสารต่อผู้คนทั่วไปให้รับรู้ให้ได้ กันต่อไป โดยเราจะต้องลงมือทำไม่ว่าจะด้วยวิธีการ เขียน พูด วาด หรือวิธีการใดๆก็ตาม
อ้างอิง จากหนังสือ " ไอสไตน์รู้ พระพุทธเจ้าเห็น "
เขียนโดย ทันตแพทย์ สม สุจิรา

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550



เครื่องหมายสวัสดิกะ ใครสร้าง ?
เป็นคำถามที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเกิดคำถามขึ้นมากมายแล้วสิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในหลายความสงสัยที่ต้องการคำตอบ แต่ก่อนจะตอบคงต้องตั้งคำถามกันก่อน ?

ตอนแรกได้ตั้งข้อสงสัยว่าเครื่องหมายนี้เกิดขึ้นจากการออกแบบ
ของสถาบันบาวเฮาส์หรือเปล่า ?
เนื่องมาจากสถาบันนี้ได้เกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมันและเป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้นว่ามีการออกแบบที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์โดยมีการใช้รูปทรงเรขาคณิตเข้ามาทำงานผสมกับการใช้ระบบการวัดแบบเมตริก ( Grid system) ซึ่งในเครื่องหมายสวัสดิกะก็มีการใช้ระบบนี้เข้าไปทำงานออกแบบด้วยเช่นแต่ทำไมยังถูกพรรคนาซีปิดสถาบันลงดูแล้วเป็นความขัดแย้งเล็กๆทางการเมืองแต่สำหรับการออกแบบมันดูมีข้อสงสัย ?
ผมเริ่มตามหาที่มาของเครื่องหมายก่อนเป็นอันดับแรกมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?



เครื่องหมายนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เรารู้จักเครื่องหมายนี้ในการใช้ทำสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการนำของฮิตเลอร์ โดยประกาศใช้ในปี
ค.ศ.1920 แต่แท้จริงแล้วมันกลับมีมาก่อนหน้านั้นเป็นพันๆปีโดยเครื่องหมายนี้ใช้ในทางลัทธิความเชื่อ ของพวกอารยัน หลังจากนั้นก็ได้แพร่กระจายออกตามเส้นทางสายไหมเป็นสองทิศทางทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทั้งๆที่เป็นเครื่องหมายเดียวกันแต่การนำไปใช้กลับทำให้นัยยะของมันเปลี่ยน ทางหนึ่งไว้บอกกล่าวถึงวัฎจักรของชีวิต ฤดูกาล( ตะวันออก ) แต่อีกฟากฝั่ง( ตะวันตก )กลับบอกว่าให้สู้เพื่อชัยชนะของเผ่าพันธุ์อันบริสุทธิ์และกำจัดสายเลือดที่เลวทราม ดังนั้นเราสรุปคำถามข้อแรกได้แล้วว่าเครื่องหมายนี้ไม่ได้เกิดมาจากสถาบันการออกแบบ บราวเฮ้า มันจากการหยิบยืมเครื่องหมายโบราณมาใช้และอาจจะถูกปรับแต่งโดยใช้ระบบการคิดต่อการออกแบบเดียวกัน ( อุณภูมิเดียวกัน ) นั้นเอง แต่ประเด็นที่น่าสนต่อจากต้นต่อความเป็นมานี้กลับทำให้เกิดคำถามตามมาว่าฮิตเลอร์ใช้มันอย่างไร? เพื่ออะไร?



ฮิตเลอร์ถึงใช้เครื่องหมายนี้เพื่ออะไร? และ มีความหมายอย่างไร?
ฮิตเลอร์พยายามที่จะชักจูงคนทั้งประเทศให้สู้รบกับเค้าเพื่อนำความยิ่งใหญ่มาสู่เยอรมันโดยใช้ทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่มีอยู่ 3 ข้อ
1. Social Darwinism ลัทธิดาร์วินทางสังคมคือ สังคมที่มีมนุษย์เฉพาะผู้มีความสมบรูณ์ทางพันธุ์กรรมมากที่สุดเท่านั้นที่จะดำรงอยู่ และ ต้องจำกัดสายพันธุ์ที่ด้อย
2. Pan - Germanism ลัทธิเยอรมันยิ่งใหญ่หรือรวบรวมเผ่าพันธุ์เยอรมันบริสุทธิ์จากทั่วโลก
3. Anti -Semitism ลัทธิต่อต้านยิว
ทั้ง 3 ข้อจึงนำไปสู่นโยบายกำจัดเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่าเผ่าพันธุ์อันบริสุทธ์ นั้นคือ เยอรมัน และทฤษฎีนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการปลุกระดมและการใช้เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์โดยการให้ความหมายใหม่กับสัญลักษณ์นั้นและอยู่ในรูปลักษณ์ของผืนธงที่ในการทำสงความฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ในผืนธงที่มีเครื่องหมายสวัสดิกะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน





1. ส่วนแรกเป็นพื้นผืนผ้าที่มีสีแดงหมายถึง ระบบสังคมนิยม หรือ คอมมิวนิสต์ ( Social idea ) เพื่อการ เดินหน้าต่อไปของประชาชนและประเทศ
2. ส่วนถัดมาเป็นพื้นวงกลมสีขาวหมายถึง การทำเพื่อประเทศชาติ
3. ส่วนสุดท้ายเป็นเครื่องหมายสวัสดิกะหมายถึง ปฎิบัติการต่อสู้เพื่อชัยชนะและยังหมายถึงการลบล้างสายพันธุ์ที่ด้อยกว่า( พวกชาวยิว )
ณ. เวลาการประกาศสงครามนั้นเองเครื่องสวัสดิถูกใส่ความหมายใหม่ลงอีกครั้ง มันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่บอกถึงการรวมอาณาจักรเยอรมันอันยิ่งใหญ่มาไว้เป็นหนึ่งเดียวที่รวบรวมทวีปยุโรปเข้ามา
ดูตามแผนที่เอานะครับ


แต่สุดท้ายประเด็นอยู่ว่าใครเป็นคนคิดนำมันเข้ามาใช้ และ ใครทำการจัดวางเครื่องหมายสวัสดิกะใหม่อีกครั้ง ?
ต้องกล่าวถึงการมาก่อนหน้านี้ว่าเครื่องหมายนี้ฮิตเลอร์ได้มาอย่างไร ในขณะที่ฮิตเลอร์กำลังตั้งพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งเยอรมันนั้น เค้าได้รับแนวคิดเกี่ยวกับเครื่องหมายนี้จากทันตแพทย์ในพรรคคือ Dr. Friedrich Krohn ที่มีความคิดในวิถีแห่งปราญช์