วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ต่อเรื่องใน folder

จากสัปดาที่ผ่านมาได้ไปพูดคุยกับเรื่อง folder กับหลากหลายผู้คนที่มีความนึกคิดที่ต่างกันจนนำมาสู่อธิบายในครั้งนี้

Floder เป็นสิ่งที่เกิดมาการพัฒนาทางเทคโนโลยีในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสำหรับเป็นพื้นที่ว่าง
ไว้จัดเก็บข้อมูลโดยการแยกแบบหมวดหมู่และบันทึกไว้เป็น “ ความทรงจำสำรอง “
ผมสะดุดกับคำๆนี้มากที่สุดมันเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและน่าค้นหารูปแบบ

จึงนำคำนี้มาแบ่งเป็นท่อนๆ ก็จะได้ 2 คำใหญ่ๆ คือ

ความทรงจำ + สำรอง

ความทรงจำ คือ การกำหนดอะไรอย่างหนึ่งไว้ในพื้นที่หนึ่งที่สามารถระลึกได้ มีการจัดเก็บโดยการแทนค่า
( ตั้งชื่อ ) code,รหัส

สำรอง คือ เตรียม . ไว้ . เพื่อ ด้วยการ ถ่ายเทและบันทึก

รูปแบบการบันทึกของการใช้ folder

A การคิดในหัวสมองหรือความจำ
B การถ่ายทอดโดยการบันทึก เขียน วาด อัดเสียง
C สิ่งที่ถูกบันทึกไว้




การบันทึกแล้วย้อนกลับมาอ่านจะได้ความที่เท่าเดิมหรือไม่ก็มีการตีความใหม่

เมื่อนำคำทั้งสองแยกออกไปตีความแล้วนำกลับมารวมใหม่ก็จะได้ “การจัดเก็บที่เตรียมไว้เพื่อให้ระลึกได้”
โดยการถ่ายทอดเช่นการ พิมพ์ เขียน วาด อัดเสียง

ผมไปสนใจในการใช้ “ตัวอักษร” ที่เตรียมไว้เพื่อถ่ายทอดและให้ระลึกได้

ตัวอักษร มีอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดคือภาษาที่มีไว้เพื่อสื่อสาร และ เมื่อย่อมันลงก็จะมีอนุภาคเล็กลงตามระดับจนเป็นพยัญชนะหนึ่งตัว

ตัวอักษรสามารถจัดเรียงอย่างเป็นระบบโดยการเรียงตามตัวอักษร = พจนานุกรม

มีการซ้ำกันพื้นที่เดียวกัน

ทำซ้ำได้ง่าย

เก็บข้อมูลในตัวมันเองได้

มีการกำหนดชื่อ

สามารถละไว้ได้ในรูปแบบของคำ (ข้อนี้มีการอธิบายเพิ่มเติม )

และประเด็นที่สำคัญคือไม่มีการซ้ำ

ผมได้ลองนั่งนึกถึงรูปแบบของอักษรรูปแบบ folder ที่ง่ายที่สุดคือ screubble





เป็นการนำลักษณะของ folder ในรูปแบบตัวอักษรที่บ่งบอกได้ชัดเจน

Folder by PLASTIC OPERATOR

ผมได้ลองไป search ใน เว็บไซ youtube ได้ไปเจอ MV ที่มีชื่อเพลงว่า FOLDER
ของวง PLASTIC OPERATOR ก็เลยเอามาให้ดูกันเพื่อจะมีอะไรมากขึ้นและก็ยังมีเนื้อเพลงอีกด้วย ลองมาดูกัน



Plastic Operator – Folder


Into your folder

folder with your name


it'd be more than I can take


if I just told you


told you what I feel that's why I copy and paste...




You can drive me mad


if you tend to hide


what I admire




You can make me sad


And I want you


To make it all worthwile




Into your folder


folder with your name


it'd be more than I can take


if I just told you told you what


I feel that's why I copy and paste...




You can lift me up


A single smile


can set my heart on fire



You don't have to stop


A gentle touch


can fill me with desire



If I just told you - told you - told you



You're intelligent


though ignorant


And I want you to know



We can fake the start


and pretend that


we have reached the end



If I just told you ... told you…

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

FOLDER

หนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมากับ Folder ผมก็ได้รับรู้อะไรบางอย่างโดยศึกษาบริบทและคุณสมบัติของ folder
ดังนี้




Folder n. เครื่องพับ,คนพับกระดาษ,ที่เก็บกระดาษเอกสาร กล่องแฟ้มข้อมูลโฟลเดอร์หมายถึง ที่รวมกลุ่มแฟ้มข้อมูล
เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีสัญรูปเหมือนกล่องมีสีเหลือง อนึ่ง
ภายใต้เมนู File จะมีคำสั่งให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ได้ คือ New folder เมื่อใช้ คำสั่งนี้แล้ว
จะได้สัญลักษณ์ใหม่มาอีกอันหนึ่ง ข้างล่างจะมีคำว่า "untitled folder" ลากสัญรูปแฟ้มข้อมูลที่ต้องการให้อยู่กลุ่มเดียวกันไปรวมไว้ภายในโฟลเดอร์นี้ เวลาต้องการเรียกใช้ จะช่วยให้หาได้ง่ายและสะดวก


เป็นพื้นที่ว่างสามารถยืดหดขนาดได้
สามารถเป็นอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดตัวมันเอง
สามารถทำสำเนาได้ง่าย
มีข้อจำกัดของขนาด ( ขนาดใหญ่ที่สุด ) โดยแปรผันตามความจุของ Hard disk
ต้องกำหนดชื่อ
สามารถเลือกที่จะปรากฎหรือไม่ก็ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ Hidden
มีระบบการจัดเก็บข้อมูล 2 รูปแบบ
- จัดเก็บแบบระบบข้อมูล คือ ตาม วันที่ , ขนาด , ตามตัวอักษร , ชนิดของ file , ตามระบบ grid system
- จัดเก็บแบบกระจายข้อมูล
การโอนถ่าย folder หรือ ข้อมูลภายใน folder
นำข้อมูลเข้าหรือออกได้โดยการลากข้อมูลเข้าได้เลย หรือ ส่งตามระบบปฎิบัติการ sent to
โดยการรับเข้าจะมี 2 แบบ
- การรับแบบเชิงเดียว
เป็นการเลือกรับทีละข้อมูลและปฎิเสธทีละข้อมูลเมื่อมีการซ้ำหรือทับซ้อนในพื้นที่เดียวกันโดยชื่อ
- การรับแบบเชิงกลุ่ม 3 อย่าง
1. เลือกรับทั้งหมด
2. เลือกรับทีละข้อมูลและปฎิเสธทีละข้อมูลเมื่อมีการซ้ำหรือทับซ้อนในพื้นที่เดียวกันโดยชื่อ
3. เลือกรับโดยการทับซ้อนข้อมูลทั้งหมดไปเลย
กฎข้อห้าม ที่ไม่สามารถสร้าง Folder ได้คือ ชื่อซ้ำกันในพื้นที่เดียวกันทั้งที่ข้อมูลเดิมก็ได้
ดังนั้นแกนหลักของการสร้างFolder ได้ก็คือต้องมีชื่อและชื่อจะต้องไม่ซ้ำกันในพื้นที่เดียวกัน

ผมได้ลองมองสิ่งต่างๆที่มีความคล้ายกับเรื่องหรือคุณสมบัตินี้ ก็ได้พบกับระบบ layer ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ในการทำงานมันมีความคล้ายกันมาก โดย
ทำสำเนาได้ง่าย
มันจะต้องมีชื่อกำหนด untitle ในลำดับแลกและเราจะกำหนดชื่อให้อีกทีตามความต้องการ และ เป็นพื้นที่ว่าง
ข้อจำกัดของขนาด ( ขนาดใหญ่ที่สุด ) โดยแปรผันตามความจุของ Hard disk
สามารถเลือกที่จะปรากฎหรือไม่ก็ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ Hidden
มีระบบการจัดเก็บข้อมูล 2 รูปแบบ
- จัดเก็บแบบระบบข้อมูล คือ ตามตัวอักษร , ชนิดของ file
- จัดเก็บแบบกระจายข้อมูล

การที่ทั้งสองอย่างคล้ายกันในระดับหนึ่งอาจมาจากมันเป็นระบบปฎิบัติการเหมือนกันแต่เมื่อเราได้มองมันในอีกมุมมองหนึ่งแล้วก็น่าที่จะค้นหาคำตอบต่อ ถ้าใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้วมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คล้ายคลึง folder ก็แสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ออกแบบอักขรศิลป์ " ทรงพระเจริญ "






นี้เป็นหนึ่งผลงานที่ได้ส่งเข้าร่วมโครงการออกแบบอักขรศิลป์ “ ทรงพระเจริญ “ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ก็คิดไว้ว่าเราจะออกแบบอย่างไงดีที่จะบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษร 10 ตัวนี้ได้
ก็แนวความคิดมาจากว่าพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดูแลเป็นห่วงประชาชนและผืนดินไทยเป็นอย่างดียิ่งและพระองค์ทรงได้เห็นพลังประชาชนที่เข้ามาร่วมถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มาแล้ว ในครั้งนี้เป็นงานเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ณ.โอกาสนี้ผมจึงคิดว่าผืนแผ่นดินคงอยากกล่าวคำสรรเสริญต่อพระองค์บ้างที่ทรงดูแลแผ่นดินนี้เป็นอย่างดี แต่แผ่นดินหรือพื้นดินไม่อาจจะสื่อสารด้วยการออกเสียงกล่าวคำสรรเสริญเช่นมนุษย์ได้ ผมจึงเป็นสื่อกลางบอกกล่าวแทนด้วยการออกแบบอัขรศิลป์ ที่งอกเงยมาจากพื้นดินเพื่อมาบอกกล่าวถ้อยคำ สรรเสริญ ต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่ของเรา

ขั้นตอนการทำงาน




วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

“ พระพุทธเจ้าทำไมไม่เขียน "


ในชั้นเรียนของอาทิตย์ที่ผ่านนี้ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่อง
“ พระพุทธเจ้ากับโซรเคติสที่ว่าทำไม 2 คนนี้รู้เรื่องต่างๆมากมายแต่ทำไมไม่เขียน? “
ตอนนี้ผมพอจะเข้าใจในบางอย่างแล้วแต่เป็นในทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากได้อ่านบทความตอนหนึ่งในหนังสือ “ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” ของนาย ทันตแพทย์ สม สุจีรา ได้เขียนข้อความไว้ว่า “ สิ่งที่องค์พระพุทธเจ้ารู้ในเรื่องต่างๆนั้น เปรียบดัง ใบไม้ทั้งป่าแต่สิ่งที่พระองค์สนใจหรือพบทางหลุดพ้นนั้นเปรียบดังใบไม้เพียง 2 - 3 ใบในกำมือเท่านั้น นอกนั้นแล้วล้วนแต่เป็นเรื่องที่มีกิเลส ไม่ใช่ทางหลุดพ้นหรือดับทุกข์ดังนั้นพระองค์จึงไม่สนใจที่จะเขียน และ ไม่ต้องการถ่ายทอด แล้วสิ่งที่พระองค์สนใจนั้นไม่อาจรู้แจ้งได้ด้วยวิธีทางการ เขียน ฟัง หรือ วาจา ก็ตามแต่กลับต้องปฎิบัติเท่านั้นจึงจะเข้าถึงได้แล้วจะต้องมีการพัฒนาญาณปัญญาไปด้วย และเรื่องนี้ก็ไปตรงกับบทความที่ ไอน์สไตน์เคยตั้งคำถามไว้ในหนังสือ “ Idea & Opinions “ เค้าเขียนด้วยความสงสัยว่า
“ การถ่ายทอดสื่อความหมาย ความเข้าใจในศาสนาพุทธ จากบุคคลหนึ่งถึงบุคคลหนึ่งนั้นทำได้อย่างไร ในการจะให้เข้าถึงเรื่องยากๆขนาดนั้นได้ คล้ายกับที่เค้า ( ไอน์ไสตน์ ) กำลังประสบปัญหาเดียวเช่นกันคือจะอธิบายทฤษฎีต่างๆที่ยากจะเข้าใจได้ด้วยการอธิบายความคิดทางถ้อยคำได้อย่างไร เพราะถ้อยคำไม่สามารถรองรับการเล่าเรื่องทางทฤษฎีนั้นได้อย่างเพียงพอ"
ดังนั้นเรื่องที่เรากำลังสงสัยคงอาจจะเป็นแค่ข้อกำจัดทางภาษาที่ใช้สื่อสารจริงๆก็ได้ หรือนี้อาจจะเป็นการคลายข้อสงสัยในชั้นต้นๆของปัญหาเท่านั้นไม่ใช่ข้อสรุป แต่สิ่งที่เราพอจะได้ประโยชน์จากข้อสงสัยนี้คือเราควรลงมือปฎิบัติหรือศึกษาในสิ่งเล็กน้อยนี้ต่อไปเพื่อหาคำตอบของจักรวาลและตัวเราเอง ไม่ว่าเรื่องนั้นเราทำแล้วจะถ่ายทอดได้ก็ดีหรือถ่ายทอดไม่ได้ก็ดี แต่หน้าที่ของเราคือการหาทางออกจนกว่าที่จะสื่อสารต่อผู้คนทั่วไปให้รับรู้ให้ได้ กันต่อไป โดยเราจะต้องลงมือทำไม่ว่าจะด้วยวิธีการ เขียน พูด วาด หรือวิธีการใดๆก็ตาม
อ้างอิง จากหนังสือ " ไอสไตน์รู้ พระพุทธเจ้าเห็น "
เขียนโดย ทันตแพทย์ สม สุจิรา

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550



เครื่องหมายสวัสดิกะ ใครสร้าง ?
เป็นคำถามที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเกิดคำถามขึ้นมากมายแล้วสิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในหลายความสงสัยที่ต้องการคำตอบ แต่ก่อนจะตอบคงต้องตั้งคำถามกันก่อน ?

ตอนแรกได้ตั้งข้อสงสัยว่าเครื่องหมายนี้เกิดขึ้นจากการออกแบบ
ของสถาบันบาวเฮาส์หรือเปล่า ?
เนื่องมาจากสถาบันนี้ได้เกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมันและเป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้นว่ามีการออกแบบที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์โดยมีการใช้รูปทรงเรขาคณิตเข้ามาทำงานผสมกับการใช้ระบบการวัดแบบเมตริก ( Grid system) ซึ่งในเครื่องหมายสวัสดิกะก็มีการใช้ระบบนี้เข้าไปทำงานออกแบบด้วยเช่นแต่ทำไมยังถูกพรรคนาซีปิดสถาบันลงดูแล้วเป็นความขัดแย้งเล็กๆทางการเมืองแต่สำหรับการออกแบบมันดูมีข้อสงสัย ?
ผมเริ่มตามหาที่มาของเครื่องหมายก่อนเป็นอันดับแรกมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?



เครื่องหมายนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เรารู้จักเครื่องหมายนี้ในการใช้ทำสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการนำของฮิตเลอร์ โดยประกาศใช้ในปี
ค.ศ.1920 แต่แท้จริงแล้วมันกลับมีมาก่อนหน้านั้นเป็นพันๆปีโดยเครื่องหมายนี้ใช้ในทางลัทธิความเชื่อ ของพวกอารยัน หลังจากนั้นก็ได้แพร่กระจายออกตามเส้นทางสายไหมเป็นสองทิศทางทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทั้งๆที่เป็นเครื่องหมายเดียวกันแต่การนำไปใช้กลับทำให้นัยยะของมันเปลี่ยน ทางหนึ่งไว้บอกกล่าวถึงวัฎจักรของชีวิต ฤดูกาล( ตะวันออก ) แต่อีกฟากฝั่ง( ตะวันตก )กลับบอกว่าให้สู้เพื่อชัยชนะของเผ่าพันธุ์อันบริสุทธิ์และกำจัดสายเลือดที่เลวทราม ดังนั้นเราสรุปคำถามข้อแรกได้แล้วว่าเครื่องหมายนี้ไม่ได้เกิดมาจากสถาบันการออกแบบ บราวเฮ้า มันจากการหยิบยืมเครื่องหมายโบราณมาใช้และอาจจะถูกปรับแต่งโดยใช้ระบบการคิดต่อการออกแบบเดียวกัน ( อุณภูมิเดียวกัน ) นั้นเอง แต่ประเด็นที่น่าสนต่อจากต้นต่อความเป็นมานี้กลับทำให้เกิดคำถามตามมาว่าฮิตเลอร์ใช้มันอย่างไร? เพื่ออะไร?



ฮิตเลอร์ถึงใช้เครื่องหมายนี้เพื่ออะไร? และ มีความหมายอย่างไร?
ฮิตเลอร์พยายามที่จะชักจูงคนทั้งประเทศให้สู้รบกับเค้าเพื่อนำความยิ่งใหญ่มาสู่เยอรมันโดยใช้ทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่มีอยู่ 3 ข้อ
1. Social Darwinism ลัทธิดาร์วินทางสังคมคือ สังคมที่มีมนุษย์เฉพาะผู้มีความสมบรูณ์ทางพันธุ์กรรมมากที่สุดเท่านั้นที่จะดำรงอยู่ และ ต้องจำกัดสายพันธุ์ที่ด้อย
2. Pan - Germanism ลัทธิเยอรมันยิ่งใหญ่หรือรวบรวมเผ่าพันธุ์เยอรมันบริสุทธิ์จากทั่วโลก
3. Anti -Semitism ลัทธิต่อต้านยิว
ทั้ง 3 ข้อจึงนำไปสู่นโยบายกำจัดเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่าเผ่าพันธุ์อันบริสุทธ์ นั้นคือ เยอรมัน และทฤษฎีนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการปลุกระดมและการใช้เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์โดยการให้ความหมายใหม่กับสัญลักษณ์นั้นและอยู่ในรูปลักษณ์ของผืนธงที่ในการทำสงความฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ในผืนธงที่มีเครื่องหมายสวัสดิกะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน





1. ส่วนแรกเป็นพื้นผืนผ้าที่มีสีแดงหมายถึง ระบบสังคมนิยม หรือ คอมมิวนิสต์ ( Social idea ) เพื่อการ เดินหน้าต่อไปของประชาชนและประเทศ
2. ส่วนถัดมาเป็นพื้นวงกลมสีขาวหมายถึง การทำเพื่อประเทศชาติ
3. ส่วนสุดท้ายเป็นเครื่องหมายสวัสดิกะหมายถึง ปฎิบัติการต่อสู้เพื่อชัยชนะและยังหมายถึงการลบล้างสายพันธุ์ที่ด้อยกว่า( พวกชาวยิว )
ณ. เวลาการประกาศสงครามนั้นเองเครื่องสวัสดิถูกใส่ความหมายใหม่ลงอีกครั้ง มันถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนที่บอกถึงการรวมอาณาจักรเยอรมันอันยิ่งใหญ่มาไว้เป็นหนึ่งเดียวที่รวบรวมทวีปยุโรปเข้ามา
ดูตามแผนที่เอานะครับ


แต่สุดท้ายประเด็นอยู่ว่าใครเป็นคนคิดนำมันเข้ามาใช้ และ ใครทำการจัดวางเครื่องหมายสวัสดิกะใหม่อีกครั้ง ?
ต้องกล่าวถึงการมาก่อนหน้านี้ว่าเครื่องหมายนี้ฮิตเลอร์ได้มาอย่างไร ในขณะที่ฮิตเลอร์กำลังตั้งพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งเยอรมันนั้น เค้าได้รับแนวคิดเกี่ยวกับเครื่องหมายนี้จากทันตแพทย์ในพรรคคือ Dr. Friedrich Krohn ที่มีความคิดในวิถีแห่งปราญช์

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


ความคิดเชิงเปรียบเทียบ ( Comparative Thinking ) การพยายามค้นหา ความเหมือนและหรือความแตกต่าง ขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อใช้อธิบายเรื่องเรื่องหนึ่งบนพื้นฐานของอีก
เรื่องหนึ่ง ที่มีมาตรฐานหรือมาตรการบางอย่างซึ่งสามารถนำมาใช้เทียบเคียงกันและเพื่อหยั่งรู้ความแตกต่าง
ระหว่างของสองสิ่งนั้น


ผมได้อ่านการ์ตูนที่อยู่บนหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่มีการพยายามผูกเรื่องและนำเสนอให้เข้าใจในเรื่องได้โดยง่ายและสอดคล้องกับแนว ความคิดเชิงเปรียบเทียบ ได้เป็นอย่างดี เรื่อง ของเวลา เป็นสิ่งที่จะต้องอธิบายกันยืดยาวตามหลักวิทยาศาสตร์ จากเรื่องสองสิ่งนี้มีพื้นฐานใกล้เคียงกันคือมันเป็นสิ่งที่ไร้รูปทรงแต่อาศัยสถานะของสิ่งๆหนึ่งมาช่วยจำกัดรูปแบบและรูปทรงของมัน เช่น น้ำ อาศัยรูปทรงของภาชนะรองรับ เวลาอาศัยรูปทรงของชุดตัวเลขที่มีระบบฐาน 24 ซึ่งสิ่งนี้เป็นการเทียบเคียงให้เห็นผลระหว่างของ 2 สิ่งนี้ได้
หัวเรื่อง โดย Theeraphong Khongchua
ภาพและข้อความ จาก หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. 2550 หน้าที่ 21

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

concept and idea


ของทุกสรรพสิ่งนั้นเกิดขึ้นด้วยความคิดของคนเราโดยเริ่มต้นจากความต้องการขั้นพื้นฐานที่ใช้ดำรงชีวิต จึงเกิดสิ่งต่างๆมากมายเพื่ออำนวยความสะดวก ความคิดริเริ่มกับกระบวนการคิดเข้ามามีส่วนในการประดิษฐ์สิ่งของเหล่านั้น

ผมเริ่มสนใจสิ่งของเล็กๆในกระเป๋ามีทั้ง ดินสอ ปากกา ยางลบ ฯลฯ แต่กลับมีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทั่วไปต้องมีไว้ยังชีพคือ “ ไฟ “แต่อาจจะไม่ได้ใช้โดยตรงกับทุกๆคน “ ไฟ ” ในที่นี้ เป็น “ ไฟแช๊ก ” ที่เป็นนวัตกรรมเล็กๆ ที่มีความเป็นมาอันยาวนาน มันเริ่มจากปฎิกริยาทางธรรมชาติซึ่งในสมัยก่อนเราไม่สามารถควบคุมการเกิดของมันได้ วิวัฒนาการทำให้เรารู้วิธีควบคุมและใช้มันเพื่อให้แสงสว่าง ปรุงอาหาร จนไปถึง ป้องกันตัวเองจากสัตว์ร้าย โดยเริ่มจากการที่เราสังเกตุเมื่อนำหินมากระทบกันแล้วมีประกายไฟ ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม ( idea ) ที่จะทำไฟใช้เอง คนจึงคิดวิธีการทำไฟขึ้นจากนั้นเป็นต้นมา ด้วยเวลาและวิวัฒนาการ ทำให้เกิดกระบวนการ-คิดค้นและประดิษฐ์ต่างๆ( concept )
มาจนถึงยุคที่มีความคิดทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดกระบรวนการทางเคมีขึ้น จึงเกิดเป็น “ไม้ขีดไฟ ” มันเป็นสิ่งที่เกิดจากการนำสารเคมีมาใช้เพื่อง่ายต่อกระบรวนการจุดไฟโดยนักเคมีชาวอังกฤษ ชื่อ จอห์น วอคเกอร์ เค้าได้นำไม้ไปจุ่มสารและทากาวเคลือบ เมื่อนำไม้ไปกระทบลงพื้นที่มีความผิวหยาบ ก็จะลุกเป็นไฟ กระบรวนการนี้เกิดจากการเสียดสีจากของ 2 สิ่งเช่นเดียวกันในอดีตแต่มีวิวัฒนาการมากขึ้น

แต่ !!! มนุษย์ยังมีความต้องการประสิทธิภาพต่อการจุดไฟ การเก็บรักษา และพกพาที่สะดวกมากขึ้นจึงเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถจุดไฟโดยมีจุดประสงค์ดังกล่าวจึงเกิดนววัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า “ ไฟแช็ก “มันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ ไฟแช็กในยุคแรกๆสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือส่วนเก็บเชื้อเพลิงตัวนำเชื้อเพลิง กับส่วนจุดชนวน โดยใช้ไส้เป็นตัวนำเชื้อเพลิงมาจากส่วนเก็บเชื้อเพลิงและเกิดเป็นประกายไฟที่ส่วนจุดชนวนนั้นเอง โดยเริ่มต้นในรูปทรงที่คิดมาจากการใช้งานโดยตรง จากนั้นก็เริ่มเกิดรูปทรงที่ง่ายต่อการใช้งานในรูปแบบต่างๆ โดยใช้วัสดุที่หาได้ในสมัยนั้นมาเก็บรักษาเชื้อเพลิงโดยเริ่มจาก ทองเหลือง เหล็ก ฯ


หลังจากในเรื่องรูปทรงและการใช้งานแล้ว ยังมีความคิดเล็กๆ ที่ต่อเติมขึ้นมาทั้งวิธีการใช้และรูปลักษณ์ ทำให้เกิดความคิดที่จะทำไฟแช็กให้อยู่ในชิ้นเดียว ทำให้เกิดไฟแช็กที่มีเองรูปลักษณ์ยี้ห้อ “ ซิปโป้ ” เขาคิดค้น ดัดแปลงและแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้ไฟแช็กสมบรูณ์แบบ คือ ออกแบบให้เหมาะสมกับมือ ใส่บานพับเพื่อทำให้เป็นชิ้นเดียวกัน สามารถเปิด –ปิดได้ด้วยมือข้างเดียว และทำที่แผ่นโลหะที่เป็นรูเพื่อป้องกันลมนั้นเป็นสิ่งที่พัฒนามาจากกระบรวนการทางคิดที่มีระบบ จากนั้นไฟแช็กได้พัฒนามาถึงจุดอิ่มตัวโดยเริ่มใช้วัสดุที่มีราคาถูกตามสภาพแวดล้อม วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีบวกกับพฤติกรรมมนุษย์ในปัจจุบันนี้ที่ชอบความสะดวกสบายจนเป็น “ ไฟแช็กพลาสติก ” ที่เราใช้กันทุกวันนี้เนื่องด้วยจากการที่จะผลิตที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำกับการค้นพบวัสดุใหม่ที่เกิดจากวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์จึงเกิดรูปลักษณ์ที่เป็นมาตราฐานแต่อาจจะมีการเปลี่ยนลวดและสีเท่านั้น มันเป็นกระบรวนการคิดและออกแบบที่ดีที่สุดสำหรับสิ่งที่ทำให้เกิด เปลวไฟ ในตอนนี้แต่ในอนาคตเราอาจจะพบสิ่งใหม่ที่ให้กำเนิด “ไฟ ” ได้ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าก็ได้ หรือมันอาจจะเป็นมากกว่าการที่จะให้เกิดเชื้อเพลิงที่เรียกว่า “ไฟ ” …. อาจจะเป็น “ เลเซอร์ “ ที่อยู่ในหนังเรื่อง สตาร์ วอลล์ !!!

รูปลักษณ์นิโคติน

บุหรี่ คือรูปลักษณ์ของนิโครติน รูปลักษณ์นั้นเราเรียนรู้ได้จากสื่อ ประสบการณ์ และ สภาพแวดล้อม
สื่อทำให้มันดูเป็นรูปลักษณ์ของผู้ใหญ่ ประสบการณ์กับสภาพแลดล้อมบอกเราว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงดังนั้นบุหรี่เป็นสื่อของวัยทำงานหรือผู้ใหญ่ที่มีความคิดเป็นของตนเอง โดยตัดสินจากภาวะวิสัย มันจึงเป็นโจทย์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่ที่ให้ผู้สูบดูมีระดับของความเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีระดับแตกต่างกันไปตามบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่ ดังนั้นการมีรูปภาพเตือนขึ้นมามันพยายามบ่งบอกถึงความคิดต่อรูปลักษณ์นั้นเป็นสิ่งที่ผิดมันเป็นแค่รูปลักษณ์ของนิโคตินที่ทำให้ผู้ที่สูบดูเป็นผู้ใหญ่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่นั้นเป็นการรณรงค์ ทำให้เห็นโทษที่เกิดขึ้นและช่วยให้หยุดสูบหรือคิดที่จะหยุดมันผลที่ได้เป็นจริงในระยะต้นเท่านั้น

ผมคิดว่ารูปภาพที่สื่อเป็นสิ่งที่ทำให้รับรู้ได้แต่ไม่ได้ยับยั้งการสูบ จริงๆแล้วมันเป็นแค่ภาพเตือนที่ทำให้เห็น เหมือนป้ายจราจรบนท้องถนนทั่วไปเท่านั้น มันเป็นภาพเตือนที่ทำให้เห็นถึงความโหดร้ายของภาวะหนึ่ง ผมคิดว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบุหรี่นั้นไม่ควรปรากฎสิ่งต่างๆที่สามารถแสดงให้จดจำได้ถึงยี่ห้อ ประเภท หรือแม้ภาพเตือนที่ทำให้เราจดจำมันได้ มันควรเป็นแค่ซองใสที่เห็นชัดว่าเป็นบุหรี่โดยไม่มีการบ่งบอกยี่ห้อด้วยเพราะจะทำให้ไม่เกิดภาพลักษณ์และการจดจำของบริษัทผู้ผลิตที่สามารถบ่งบอกรสนิยมในการสูบได้ และมันจะทำให้ผู้คนรับรู้ว่าบุหรี่เป็นสิ่งที่อันตรายเท่านั้นไม่ได้มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม บุหรี่จะเป็นแค่เพียงสิ่งที่ทุกคนได้เรียนรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่อันตรายต่อสุภาพและคนรอบข้าง ดังนั้นเราจึงไม่ควรให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์มัน โดยละมันไว้เป็นแค่เพียงรูปลักษณ์ของสารนิโครติน